Learn about stop-loss and take-profit orders

คุณกำลังพิจารณาการลงทุนในฟอเร็กซ์หรือตลาดหุ้นใช่หรือไม่ ถ้าใช้ ให้พิจารณาการใช้วิธีควบคุมสถานะการเทรดที่เปิดอย่างมีประสิทธิภาพ วิธีที่ดีที่สุดก็คือการตั้ง Stop-Loss หรือ Take-Profit เป็นกลยุทธ์การออก คำศัพท์สองคำนี้มีความหมายอย่างไร Stop Loss จะช่วยกำหนดอัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยง รวมถึงจำนวนที่เทรดเดอร์รู้สึกว่ายอมขาดทุนได้ในการเทรดหนึ่งครั้ง Take-profit จะใช้เพื่อป้องกันความอยากนำกำไรทั้งหมดกลับไปลงทุนอีกครั้ง โดยจะล็อกกำไรจากความเคลื่อนไหวของราคาในระยะสั้นหรือระยะยาว 

ตามปกติแล้ว ไม่มีใครที่เทรดเพื่อเสียเงิน แต่จะเทรดเพื่อโอกาสทำกำไร จึงต้องมีระดับความระมัดระวังเมื่อตรวจสอบการเทรดทั้งหมดที่เข้าเทรด อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์หลายรายมักประสบความยุ่งยากในเรื่องราคาและเวลาที่จะดำเนินการ 

ในบทความนี้ เราจะอธิบายถึงเหตุผลที่คุณควรใช้เครื่องมือการเทรดทั้งคู่สำหรับตราสารทางการเงินทั้งหมดของคุณ โดยเราจะพูดถึงหัวข้อต่อไปนี้:

  • คำสั่ง Stop-Loss และ Take-Profit คืออะไร 
  • กลยุทธ์ Stop-Loss จะช่วยลดความเสี่ยงให้น้อยที่สุดได้อย่างไร
  • วิธีตั้งเป้าสำหรับ Stop-Loss
  • กลยุทธ์ Take-Profit ทำงานอย่างไร

คำสั่ง Stop-Loss และ Take-Profit คืออะไร

แผน Stop-Loss จะจำกัดการขาดทุนสูงสุดที่อาจเกิดขึ้นในสถานะการเทรดหนึ่งสถานะ Take-Profit จะประเมินมูลค่าที่เทรดเดอร์รู้สึกพึงพอใจที่จะปิดสถานะการเทรดสินทรัพย์เพื่อทำกำไร การใช้คำสั่งทั้งคู่จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถคิดรูปแบบอัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยงซึ่งอาจได้ผลสำหรับการลงทุนระยะยาว เพราะจะช่วยให้โอกาสขาดทุนลดลงเมื่อเทียบกับโอกาสได้กำไร 


การทำงานของ Stop-Loss

Stop-Loss จะใช้เพื่อป้องกันเงินลงทุน เมื่อตั้งค่าแล้ว หากราคาของสินทรัพย์ปรับตัวลดลงต่ำกว่า Stop-Loss ของเทรดเดอร์ คำสั่ง Stop-Loss ก็จะทำงาน หลังสถานการณ์ข้างต้น ระบบจะทำคำสั่ง Market โดยขายสินทรัพย์ในราคาถัดไปที่ทำได้และในระดับต่ำกว่า Stop-Loss ตัวอย่าง หากคุณซื้อหุ้น Afrique enterprises จำนวน 20 หุ้นในราคา 100 USD รวมเป็นการลงทุน 2,000 USD คุณจะต้องตั้งขีดจำกัดของ Stop-Loss ไว้ที่ 1,950 USD หากราคาหุ้น Afrique ปรับตัวลดลงหลังจากวันที่คุณดำเนินการและต่ำกว่าระดับ Stop-Loss ลองสมมติว่าปิดที่ 1,940 USD ก็จะยังคงมีการทำคำสั่งโดยทำให้เกิดการขาดทุนเฉลี่ยทั้งหมด $60


การทำงานของ Take-Profit

Take-Profit เรียกอีกอย่างว่า “คำสั่ง Limit” ซึ่งจะรับประกันว่าสถานะการเทรดที่ปิดไปของคุณจะเท่ากับหรือมากกว่าขีดจำกัดด้านราคาที่กำหนดไว้ล่างหน้า เมื่อสถานะของสินทรัพย์เคลื่อนไหวในทิศทางของระดับ Take-Profit ระบบจะปิดสถานะเพื่อทำกำไร คำสั่ง Take-Profit เป็นคำศัพท์ยอดนิยมสำหรับการเทรดระยะสั้น หากต้องการติดตามความเคลื่อนไหวของราคารายวันหรือรายชั่วโมง เทรดเดอร์จะใช้ Take-Profit เพื่อดำเนินการเทรดโดยที่คนไม่ต้องคอยเฝ้า เมื่อใช้คำสั่งทั้งสอง เทรดเดอร์จะสามารถควบคุมอัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยงของการเทรดทั้งหมดที่พวกเขาทำขึ้น อ่านต่อเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีใช้ Stop-Loss และ Take-Profit


กลยุทธ์ Stop-Loss สามารถช่วยลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุดได้อย่างไร

หากต้องการลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด เทรดเดอร์จะต้องทำความรู้จักทั้งสองคำสั่งให้มากขึ้น หากต้องการจัดการสถานะการเทรดอย่างมืออาชีพ กลยุทธ์บางอย่างเกี่ยวกับ Stop-Loss และ Take-Profit จะมีความสำคัญ เมื่อใช้ Stop-Loss การจัดการการลงทุนเล็กๆ น้อยๆ ก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป เมื่อกำหนดตัวเลข Stop-Loss แล้ว ให้ทำคำสั่งในตลาดแล้วรอจนกว่าจะมีผล แต่คำสั่ง Stop-Loss ก็มีข้อเสีย เช่น เมื่อตลาดดีดตัวขึ้นในระยะสั้นซึ่งเป็นการฟื้นตัวหรือสามารถทำกำไรได้ในการเทรดระยะกลาง/ยาว ดังนั้น คุณจะใช้งานคำสั่งได้ดีที่สุดในสถานการณ์ทางด้านล่าง:

  • สินทรัพย์อยู่ในเทรนด์ขาลงของภาวะตลาดหมีหรือการปรับฐานของตลาดหุ้นเนื่องจากการวิเคราะห์ทางเทคนิค
  • คริปโตเคอเรนซี่หรือหุ้นอยู่ในเทรนด์ขาขึ้นของภาวะตลาดกระทิงโดยไม่มีความเสี่ยงในระยะสั้น
  • เมื่อตลาดมีความไม่แน่นอนและบริษัทมีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง
  • โอกาสในการเทรดใดๆ ที่ใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน เช่น เรื่องราวในข่าว/ข่าวประชาสัมพันธ์ที่มีผลกระทบสูง 

เทคนิคการใช้ Stop-Loss

หากเทรดเดอร์ต้องการปกป้องผลกำไรของตน การใช้ Stop-Loss อาจมีประโยชน์ โดยเทรดเดอร์สามารถเปลี่ยนจากการใช้ Stop-Loss มาตรฐานไปใช้สิ่งที่เรียกกันว่า Trailing stop (Stop ที่ปรับได้) จากนั้น เทรดเดอร์จะสามารถปรับ Trailing Stop ตามเปอร์เซ็นต์หรือยอดเงินที่กำหนดไว้ล่วงหน้าให้สูงกว่ามูลค่าสินทรัพย์ในตลาด ส่วนเทรดเดอร์ที่จะซื้อหรือเปิด Long ในหุ้น พวกเขาจะต้องตั้ง Trailing Stop ต่ำกว่ามูลค่าสินทรัพย์ในตลาด หากเทรดเดอร์ต้องการขาย (Short) หุ้น พวกเขาจะต้องตั้ง Trailing Stop-Loss ให้สูงกว่ามูลค่าในตลาด หากสถานะที่เปิดอยู่เคลื่อนไหวไปตามทิศทางที่คุณต้องการ Trailing Stop จะขยับตาม โดยจะเลื่อนตามมูลค่าตลาดที่สูงกว่า จากนั้น ปิดสถานะของคุณหากตลาดทำให้หุ้นมีกำไรบางส่วนลดลงหรือขาดทุน


การคำนวณอัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยงขณะเทรดออนไลน์

เมื่อเทรดเดอร์เข้าใจแนวคิดในการใช้ Stop-Loss และ Take-Profit แล้ว ก็เป็นเรื่องง่ายมากที่จะประเมินการคำนวณผลตอบแทนหรือความเสี่ยงขณะที่พวกเขาดำเนินการเทรดออนไลน์ โดยไม่สำคัญว่าคุณจะเป็นเทรดเดอร์มือใหม่หรือมืออาชีพ เมื่อคุณปรับใช้การบริหารจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม คุณก็จะสามารถใช้ทั้งสองอย่างนี้และเทรดจนประสบความสำเร็จ

ตัวอย่าง เมื่อใช้อัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยง เทรดเดอร์จะต้องหารกำไรสุทธิที่เป็นเป้าหมายของพวกเขากับราคาที่เป็นความเสี่ยงสูงสุด (การใช้คำสั่ง Stop-Loss) เทรดเดอร์ไม่มากนักจะใช้อัตราส่วนผลตอบแทนหรือความเสี่ยง 2:1 (โดยที่เสี่ยง 1 USD เพื่อให้ได้รับ 2 USD) อย่างไรก็ตาม นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้มั่นใจว่าเงินลงทุนของพวกเขาจะไม่หายไป นอกจากนี้ ยังช่วยให้พวกเขาเอาตัวรอดได้ทั้งในช่วงที่ตลาดสูงสุดและต่ำสุดขณะที่เทรด

คำเตือน จุดต่ำสุดและกลยุทธ์การบริหารจัดการเงินทุนอย่างย่ำแย่อาจทำให้ต้องขาดทุน


วิธีตั้งเป้าสำหรับ Stop-Loss

ระดับความเสี่ยงของคุณจะเป็นตัวกำหนดการตั้งคำสั่ง Stop-Loss อย่าลืมว่าเทรดเดอร์ควรรับมือกับสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดซึ่งอาจบ่งชี้ว่าการคาดคะเนราคาหุ้นในตลาดเกิดข้อผิดพลาด ดังนั้นจึงต้องจำกัดการขาดทุน หลังกำหนดอัตราส่วนผลตอบแทนหรือความเสี่ยงต่ำสุดจนคุณพอใจแล้ว การใช้คำสั่ง Stop-Loss จะง่ายมาก 


ประโยชน์ของคำสั่ง Stop-Loss

  • คำสั่ง Stop-Loss จะช่วยให้การขายสินทรัพย์หรือหุ้นเป็นอัตโนมัติ จึงลดกิจกรรมที่คนต้องทำในพอร์ตของคุณให้เหลือน้อยที่สุด โดยคำสั่งจะทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อราคาสินทรัพย์ถึงราคาที่กำหนดไว้
  • คำสั่งจะปกป้องเทรดเดอร์ไม่ให้ขาดทุนจำนวนมากในตลาด ถึงแม้ราคาจะปรับตัวลดลงต่ำกว่าราคาที่ตั้งไว้ แต่เทรดเดอร์ก็จะขาดทุนน้อยที่สุดเท่านั้น
  • Stop-Loss ช่วยส่งเสริมการมีวินัยในตนเองเมื่อเทรด โดยจะสนับสนุนให้ดำเนินการตามวิธีและกลยุทธ์ทางการเงิน ดังนั้นจึงช่วยขจัดความรู้สึกตื่นเต้นมากเกินไปของผู้คน
  • คำสั่งจะช่วยสร้างสมดุลระหว่างความเสี่ยงกับผลตอบแทนในการเทรดหนึ่งครั้งในตลาดหุ้น

ข้อเสียของคำสั่ง Stop-Loss

  • หากคุณกำลังใช้บริการโบรกเกอร์ โบรกเกอร์บางแห่งจะเรียกเก็บค่าใช้บริการ ดังนั้น คุณจึงอาจต้องชำระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • เทรดเดอร์ต้องตัดสินใจว่าจะตั้ง Stop-Loss ที่ราคาใดซึ่งท้าทายและจัดการยาก หากต้องการหลีกเลี่ยงปัญหานี้ คุณสามารถขอรับความช่วยเหลือได้จากผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินแต่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
  • ความผันผวนทางราคาระยะสั้นรูปแบบใดก็ตามอาจทำให้คำสั่ง Stop-Loss ทำงาน จึงทำลายวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้ 
  • บางครั้ง เทรดเดอร์จะถูกบังคับให้ขายสินทรัพย์ของตนเองเร็วเกินไปหรือในทันที ซึ่งจะจำกัดการทำกำไรเพิ่มเติมหรือตัดแนวโน้มที่อาจทำกำไรได้โดยที่เทรดเดอร์อาจรอจนถึงระดับที่มีความเสี่ยงสูง

กลยุทธ์ Take-Profit ทำงานอย่างไร

คำสั่ง Take-Profit ได้รับความนิยมในบรรดาเทรดเดอร์ระยะสั้น เพราะพวกเขามักใช้ประโยชน์จากทั้งความผันผวนและความไม่แน่นอนของมูลค่าสินทรัพย์ในการลงทุนทางการเงิน ส่วนที่ท้าทายที่สุดของเทรดเดอร์หลายๆ รายก็คือการรู้เวลาที่จะทำกำไร การปล่อยเวลานานเกินไปอาจพบว่าเทรดเดอร์พลาดจุดออกจากการเทรดที่ดีที่สุดโดยเสียกำไรที่หามาได้ คำสั่งที่เริ่มทำงานจะปิดสถานะที่เปิดอยู่ซึ่งมีกำไรเมื่อการเทรดถึงมูลค่าที่มีกำไรหรือถึงยอดเงินที่กำหนดไว้ล่วงหน้า สิ่งหนึ่งที่คำสั่งนี้จะทำก็คือการขจัดความยึดติดทางอารมณ์ทั้งหมดของมนุษย์จากการดำเนินการเทรด เทรดเดอร์จึงผ่อนคลาย ไม่โลภหรือเครียดเรื่องการขายหรือถือสินทรัพย์ 


จุดใดที่ต้องใช้คำสั่ง Take-Profit

เช่นที่กล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้ การเทรดแต่ละครั้งต้องอาศัยกลยุทธ์ในการออกเมื่อทำกำไรได้ตามที่คาด การเข้าเทรดเป็นเรื่องที่ง่ายมาก แต่วิธีและจุดที่คุณออกจะกระทบต่อกำไรหรือการขาดทุนของคุณอย่างยิ่ง มีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่ตั้งไว้ซึ่งจะพิจารณาว่าจุดใดหรือเมื่อใดที่คุณจะใช้คำสั่ง Take-Profit 

นี่คือตัวอย่าง: หากเทรดเดอร์ซื้อสินทรัพย์ที่ราคา 10.50 USD และตั้งเป้ากำไรไว้ที่ 10.65 USD จากนั้น คุณจะตั้งคำสั่ง Take-Profit ไว้ที่ 10.65 USD

อย่างไรก็ตาม มาร์จิ้นหรือเป้าของกำไรจะมีทั้งข้อดีและข้อบกพร่อง


เหตุใด Take-Profit จึงสำคัญมาก

การรู้จุดที่จะออกก่อนเริ่มต้นเทรดจะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถคำนวณอัตราผลตอบแทน/ความเสี่ยงได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญก็คือการทำความเข้าใจว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะรู้ว่าการลงทุนหรือการเทรดจะประสบความสำเร็จหรือไม่ การตั้งสถานะการเทรดหลายสถานะมีแนวโน้มที่จะทำกำไรได้มากกว่าหรือสูงกว่า หากต้องการรู้ว่าการเทรดใดคุ้มที่จะเสี่ยง เทรดเดอร์ก็สามารถใช้เป้าของกำไรได้ เมื่อกำไรน้อยกว่าความเสี่ยง ให้คิดทบทวนก่อนเทรดเพื่อหลีกเลี่ยงความตกใจ ดังนั้น เราจึงสามารถพูดได้อย่างชัดเจนว่าเป้าของกำไรจะกรองการเทรดที่ไม่คุ้มออกไปได้


วิธีตั้งคำสั่ง Take-Profit

เทรดเดอร์สามารถใช้กลยุทธ์ต่างๆ ในการตั้งค่าคำสั่ง Take-Profit ด้านล่างนี้คือวิธีทดสอบและทดลองบางอย่างที่จะปรับใช้:

  • การใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่: เทรดเดอร์สามารถใช้คำสั่ง Take-Profit เมื่อตลาดกำลังอยู่ในเทรนด์ ส่วนคนอื่นๆ จะอิงตามหรือตั้งเป้าใกล้กับราคาของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ โดยเฉพาะหากหุ้นปรับตัวลงไปต่ำกว่าค่ากลางของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
  • ความเคลื่อนไหวของราคาจะบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ในตลาด: ตัวอย่างเช่น การใช้สัญญาณที่อ้างอิงตามความเคลื่อนไหวของราคาเท่านั้นเพื่อพิจารณาความแปรปรวนของอารมณ์ในตลาด การใช้กราฟแท่งและการปฏิเสธที่จุดสูงสุดหรือต่ำสุดเป็นตัวอย่างที่ดีของสถานการณ์ข้างต้น
  • การใช้จุดสูงสุดและต่ำสุด: เทรดเดอร์สามารถใช้การขยายตัวของ Fibonacci เพื่อให้ได้แนวคิดเกี่ยวกับผลตอบแทนที่เป็นไปได้ของสินทรัพย์เมื่อมีการขยายตัวของเทรนด์
  • ระดับแนวรับและแนวต้าน: เทรดเดอร์สามารถใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อหาจุดที่เป็นแนวรับและแนวต้าน จากนั้น ใช้จุดสูงสุดและจุดต่ำสุดในอดีตเพื่อตั้งคำสั่ง Take-Profit

ข้อดีและข้อเสียของคำสั่ง Take-Profit

Take-Profit หรือเป้าของกำไรมีทั้งประโยชน์และข้อเสียหลายอย่าง ลองมาดูกันเถอะ


ข้อดี

  • เทรดเดอร์สามารถรู้ผลตอบแทนหรือความเสี่ยงของการเทรดก่อนเปิดสถานะ เมื่อมีข้อมูลดังกล่าว เทรดเดอร์จะสามารถตัดสินใจได้โดยมีข้อมูลประกอบว่าจะดำเนินการเทรดหรือไม่
  • คำสั่งดังกล่าวจะช่วยขจัดการใช้อารมณ์ของมนุษย์เนื่องจากเทรดเดอร์สามารถเห็นหรืออ้างอิงการตัดสินใจตามกราฟหรือข้อมูลที่ชัดเจน
  • คำสั่งจะช่วยให้เทรดเดอร์เตรียมใจก่อนผลในภายหลัง ไม่ว่าเทรดเดอร์จะขาดทุนหรือไม่ พวกเขาก็จะไม่ตกใจ

ข้อเสีย

  • เทรดเดอร์บางคนไม่สามารถใช้ Take-Profit ได้เนื่องจากต้องอาศัยความรู้บางอย่าง ดังนั้น เทรดเดอร์จะต้องลงทุนกับแหล่งข้อมูลการเรียนรู้และสร้างเครือข่ายกับเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์ 
  • เมื่อถึงราคาที่ตั้ง Take-Profit เทรดเดอร์จะไม่สามารถได้กำไรมากกว่านั้น หากการเทรดตั้ง Take-Profit ไว้ที่ $10.25 พวกเขาจะเสียกำไรที่มากกว่าเป้าที่ตั้งไว้ กล่าวคือส่วนที่มากกว่า $10.25 จะหายไป อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์สามารถดำเนินการเทรดใหม่ในกรณีที่ความเคลื่อนไหวของราคายังคงเป็นไปในทิศทางที่ต้องการ 
  • ข้อสุดท้าย ยังมีโอกาสที่จะไม่บรรลุเป้าหมายที่ต้องการหากราคาไม่ถึงระดับของคำสั่ง Take-Profit ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อราคาปรับตัวไปทางเป้าที่ตั้งไว้แล้วกลับตัวไปยังระดับคำสั่ง Stop-Loss เท่านั้น สรุปแล้ว เป้าของกำไรที่ตั้งไว้สูงจะไม่ประสบความสำเร็จในการเทรดหลายๆ ครั้ง แต่หากตั้งคำสั่งไว้ใกล้เกินไป เทรดเดอร์อาจไม่คุ้มกับความเสี่ยงที่กำลังแบกรับ

สรุป

วิธีหนึ่งที่ง่ายที่สุดในการเรียนรู้คำสั่ง Market และปรับใช้ได้อย่างมั่นใจก็คือทำตามเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์มากกว่าเพื่อให้ได้ดูสิ่งที่พวกเขาทำและวิธีที่พวกเขาใช้ แพลตฟอร์มการเทรดฟอเร็กซ์บางอย่างมีเครื่องมือที่สามารถเข้าถึงได้และใช้งานง่ายเพื่อช่วยให้มือใหม่เทรดได้ง่ายโดยไม่มีอุปสรรคมากมาย นอกจากนี้ แพลตฟอร์มการเทรดออนไลน์ยังช่วยให้สามารถคัดลอกพอร์ตของผู้อื่นให้สถานะการเทรดของพวกเขาได้โดยอัตโนมัติและเพื่อกระจายความเสี่ยง หลังจากเชี่ยวชาญเรื่องคำสั่ง Stop-Loss และ Take-Profit แล้ว เทรดเดอร์จะสามารถใช้บัญชีโบรกเกอร์ของตนเองเพื่อลงทุนเพิ่มเติมโดยตระหนักถึงสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดและดีที่สุดอย่างเต็มที่


การปฏิเสธความรับผิด
ข้อมูลนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือคำแนะนำในการลงทุน หากแต่เป็นการสื่อสารทางการตลาด

Share: